RSS

Tag Archives: ศึล

การบูชาสังเวชนียสถาน 4 แห่ง เพื่อตามรอยพระศาสดา

สวัสดีครับทุกๆท่าน

ผม กมลเวช เมืองศรี  เพิ่งกลับมาจากการเดินทางไปบูชาสังเวชนียสถานโดยใช้เวลา 13 วัน ณ.ประเทศอินเดียและเนปาล  ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญอย่างมากในพุทธศาสนาของเรา

ผมได้เดินทางไปกับคณะของท่านอาจารย์ษิริพงศ์ อัครศรียุกต์ อาจารย์ที่ผมยกให้เป็นอาจารย์คนแรกของชีวิตผม คลิ๊กอ่านต่อที่นี่

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , , , ,

ขอมอบสุดยอด E-Book เป็นธรรมทานครับ

หลังจากการฟังบรรยายธรรมะอย่างใกล้ชิดกับท่านอาจารย์ษิริพงษ์ อัครศรียุกต์มาแล้ว

ทำให้ชีวิตของผมมองเห็นทางสว่างอีกมากมาย

จึงขอมอบธรรมทานนี้ แก่ผู้มีบุญทุกท่านครับ

โดยผมได้แนบลิงค์ไฟล์ Ebook หนังสือธรรมะที่มีคุณค่าอย่างมากมาย หลายเล่มมาให้กับทุกๆท่านมา ในครั้งนี้ด้วย


เพื่อการศึกษาในเวลาที่คุณต้องการครับ กรุณาดาวน์โหลดไปอ่านเพื่อความสุขและความเจริญของคุณ

และคุณยังสามารถส่งต่อ Ebook ดีๆเหล่านี้ เป็นของขวัญปีใหม่ เป็นธรรมทานให้แก่ผู้อื่นได้อีกด้วยครับ

คุณสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ใดลิงค์หนึ่งข้างล่างนี้ แต่ละลิงค์จะดาวน์โหลดไฟล์เดียวกัน กรุณาคลิ๊กลิงค์เดียวครับ

http://www.upload-thai.com/download.php?id=d37150ccdb94c2d53d4ab2482f6451c5

http://www.upfile.thailandblogger.com/346791

http://www.beupload.com/download/?679138&A=563735

http://www.mediafire.com/?mhzjxywvifz

 
10 ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 25, 2009 นิ้ว ธรรมะ-ศีล

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , ,

ความมหัศจรรย์แห่ง “อุโบสถศีล”

 

 

 

 

 

 

 

กดติดตามธรรมะสุดประเสริฐที่นี่ก่อนนะครับ

อุโบสถศีล เป็นศีล สำหรับ

 

1.ฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งปรารถนาความสุขอันยอดเยี่ยมในกาลปัจจุบันและอนาคต

 

2.ผู้สะสมบารมี เพื่อรู้ธรรมเห็นธรรมและบรรลุมรรคผลนิพพาน

ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีล

นางเอกุโปสติกาภิกษุณี ออกบวชเมื่ออายุได้ 7 ปี บวชแล้วไม่ทันถึงครึ่งเดือน นางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะกิเลส ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ..

หลายคนสงสัยว่า เหตุใดนางจึงได้บรรลุธรรมรวดเร็วอย่างนั้น นางจึงเล่าประวัติ การเวียนว่ายตายเกิดของนางว่า เมื่อ 91กัปป์ที่ผ่านมา มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกมาแล้ว 7 พระองค์ คือ

พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมโนพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมะพุทธเจ้า ของเราในสมัยนี้

ในสมัยพระเจ้าวิปัสสีพุทธเจ้า นางเอกุโปสติกาภิกษุณี เกิดเป็นหญิงรับใช้ของพระเจ้าพันธุมมะ ผู้ครองนครพันธุมดี นางได้เห็นพระเจ้าพันธุมมะ

พร้อมด้วยอำมาตย์ ข้าราชบริพาร ทรงสละราชกิจมาสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ นางคิดว่า อุโบสถศีลนี้ น่าจะเป็นของดีวิเศษ เจ้าฟ้ามหากษัตริย์จึงสนใจสมาทานรักษาเป็นประจำ

นางคิดได้ดังนี้ จึงศึกษา และทำใจร่าเริงสมาทานรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ ผลของการรักษาอุโบสถศีล ทำให้นางได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ มีวิมานอันสวยงาม

มีนางฟ้าแสนนางเป็นบริวาร มีผิวพรรณผุดผ่องดั่งทองคำ มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าอื่นๆ ระหว่างที่นาง ยังท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่ว่าจะเกิดในภพใดชาติใด

นางจะเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถานทุกภพทุกชาติ ได้ที่อยู่อาศัยเป็นเรือนยอดปราสาทมณฑป ได้ดอกไม้เครื่องหอม เครื่องลูบไล้ ของกินของใช้ไม่เคยอดอยาก

ภาชนะเครื่องใช้ทำด้วยเงินทองแก้วผลึกแก้วปทุมราช ผ้าไหมผ้าฝ้ายผ้าเปลือกไม้ล้วนแต่งามวิจิตรมีราคาสูง พาหนะ ช้าง ม้า รถ มีครบบริบูรณ์

ทุกอย่างเป็นผลบุญที่เกิดขึ้นจากการรักษาอุโบสถศีลในวันพระของนาง

ตลอดเวลา 91กัปป์ นางมิได้ไปเกิดในทุคติภูมิเลย พระพุทธองค์ตรัสว่า ” ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์แปดที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลยิ่งใหญ่

มีอานิสงส์มหาศาล มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก มีผลอานิสงส์แผ่ไพศาลมาก ” อุโบสถศีล เลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ์ บรรดาคนร่ำรวยที่สุดในโลก มหาเศรษฐี

มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ความร่ำรวยเหล่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แล้ว ย่อมเป็นของเล็กน้อย

ทรัพย์สมบัติของเศรษฐีทุกคนในโลกรวมกัน ก็ไม่เท่าทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลของการรักษาอุโบสถศีล ย่อมเป็นของเล็กน้อย คือ

ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของผลบุญที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล เพราะ สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นสมบัติมนุษย์ เป็นสมบัติหยาบ เป็นความสุขหยาบ ใช้เวลาเสวยอย่างมากไม่เกินร้อยปี

แต่ผลของอุโบสถศีล เป็นเหตุให้ได้สมบัติทิพย์ ความสุขก็เป็นทิพย์ด้วย การเสวยสมบัติทิพย์ กินเวลายาวนานเป็นกัปป์เป็นกัลป์ บางทีเป็นนิรันดร์(นิพพานสมบัติ)

ดังนั้น ชาย หญิงทั้งหลาย ผู้ได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลย่อมได้ชื่อว่า ทำความดีอันมีความสุข เป็นกำไร ไม่มีคนดีที่ไหนจะติเตียนได้ เมื่อสิ้นชีพไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์หกชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง

วิธีการรักษาอุโบสถศีล เมื่อวันพระเวียนมาถึง ให้ทำความตั้งใจว่า วันนี้เราจะรักษาอุโบสถศีล เป็นเวลาสิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือตั้งแต่เช้าวันพระจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น

เจตนาละเว้นจากความชั่วทางกายวาจานั้นแลคือตัวศีล โดยปกติ วันพระ อุบาสก อุบาสิกา จะพากันไปสมาทานอุโบสถศีลที่วัด พักอาศัยอยู่ที่วัดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง

ถ้าไม่ได้ไปวัดก็ให้ทำสมาทานวิรัติ หรือเจตนาวิรัติอุโบสถศีลเอาเอง สมาทานวิรัติ คือ ตั้งใจสมาทานศีลด้วยตนเอง จะรักษากี่วัน กำหนดเอง เว้นจากข้อห้ามของศีลเสียเอง เจตนาวิรัติ คือ

เพียงแต่มีเจตนาเว้นจากข้อห้ามที่ใจเท่านั้น ก็เป็นศีลแล้ว ไม่ต้องใช้เสียงก็ได้

สมาทานวิรัติ ดังนี้

เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวันทามิ สาธุ สาธุ สาธุ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์ ตั้งแต่เวลานี้ไปจนถึง… ข้าฯ จะตั้งใจรักษาอุโบสถศีล อันประกอบไปด้วยองค์แปดประการ คือ

 

1. ปานาติปาตา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการฆ่าสัตว์ คือไมทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เป็นการลดการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน

 

2. อทินนาทานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ เป็นการลดการเบียดเบียน ทรัพย์สินของผู้อื่น

 

3. อพรหมจริยา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการประพฤติอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ คือ ไม่เสพเมถุนล่วงมรรคใดมรรคหนึ่ง (ถ้าไม่แตะต้องกายเพศตรงข้าม และไม่จับของต่อมือกันจะช่วยให้การฝึกสติสัมปชัญญะดียิ่งขึ้น)

 

4. มุสาวาทา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการพูดปด คือ พูดไม่ตรงกับความจริง

 

5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มสุราเมรัยของมึนเมาเสียสติ อันเป็นเหตุของความประมาทมัวเมา

 

6. วิกาลโภชนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มกินอาหารในเวลาหลังเที่ยงไปแล้วจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เป็นการลดราคะกำหนัด และลดความง่วงเหงาหาวนอน

 

7. นัจจคีตวา ทิตตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธวิเลปานะ ธารณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดูละครฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี ทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทา เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ อันปลุกเร้าราคะ กำหนัดให้กำเริบ

 

8. อุจจา สะยะนะ มะหาสะยะนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการนั่งนอนเครื่องปูลาด อันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี และวิจิตรงดงามต่างๆ เป็นการลดการสัมผัสอันอ่อนนุ่มน่าหลงไหล อดความติดอกติดใจสิ่งสวยงาม มีกิริยาอันสำรวมระวังอยู่เสมอ ข้าฯ สมาทานวิรัติ ซึ่งอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดีมิให้ขาด มิให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เพลาวันนี้ ขอกุศลส่วนนี้ จงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ สาธุ

 

เมื่อวิรัติศีลแล้ว พึงรักษา กาย วาจา เว้นการกระทำ ตามที่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้จนสิ้น กำหนดเวลา พยายามรักษากาย วาจา มั่นอยู่ในศีล อย่าให้ศีลข้อใดข้อหนึ่งขาด หรือทะลุด่างพร้อยมัวหมอง ถ้ากระทำบ่อยๆ และต่อเนื่องยาวนาน ศีลจะอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ สมาธิจะอบรมปัญญาให้แก่กล้า สามารถรู้ธรรมเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้..

 

ปัญหา ในการรักษาศีล 8 คือ กลัวไม่ได้กินอาหารเย็น กลัวหิว กลัวเป็นโรคกระเพาะ กลัวรักษาศีลไม่ได้แล้วจะยิ่งบาป

ที่จริงแล้ว ผู้รักษาศีล 8 สามารถรับประทาน น้ำปานะ คือ น้ำที่ทำจากผลไม้ ขนาดเล็กเท่าเล็บเหยี่ยว ขนาดใหญ่ไม่เกินส้มโอตำ หรือ คั้นผสมน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางให้ดี 8 ครั้ง ผสมเกลือและน้ำตาลพอได้รส

หรือ รับประทาน เภสัช 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย(น้ำตาล) นอกจากนี้ยังรับประทานสิ่งที่เป็นยาวชีวิก ได้โดยไม่จำกัดกาล คือ

รับประทานเป็น ยาได้แก่ รากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะใคร้ ว่านน้ำ แฝก แห้วหมู น้ำฝาด เช่น น้ำฝาดสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย ใบชะพลู ใบบัวบก ใบส้มลม ผลไม้

เช่น ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ รวมยางไม้จากต้นหิงค์และเกลือต่างๆ

ที่มา คนเมืองบัว

โดย กมลเวช เมืองศรี


 
84 ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 9, 2009 นิ้ว ธรรมะ-ศีล

 

ป้ายกำกับ: , , , , , ,

อานิสงค์ของการรักษาศีลอุโบสถ2

กดติดตามธรรมะสุดประเสริฐที่นี่ก่อนนะครับ

“การรักษาอุโบสถศีล มีผลมาก มีอานิสงส์มาก แม้ความสุขของพระราชาผู้ทรงเป็นใหญ่ใน ๑๖ แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะศีลนั้นทำให้เกิดในสวรรค์”

อุโบสถศีล เป็นกุศลวิธีที่นำพามนุษย์ไปสู่ สวรรค์มาตั้งแต่มนุษย์ยุคต้นกัป ถ้าเป็นอุโบสถในพระพุทธศาสนา เรียกว่า อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ซึ่งก็หมายถึงรักษาศีล ๘ ในวันพระนั่นเอง ในยุคสมัยที่ยังไม่มีพระพุทธศาสนา ผู้ปรารถนาสวรรค์จะชักชวนกันรักษาอุโบสถศีล เพราะถือว่าเป็นอริยประเพณีที่มีมาช้านาน

แม้กระทั่งพระเจ้าจักรพรรดิราช ก่อนจะทรงครองความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ก็ต้องสมาทานอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัดทุกๆ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ อานิสงส์ของอุโบสถศีล
ทำให้ รัตนะทั้ง ๗ ประการ มีจักรแก้ว เป็นต้น บังเกิดขึ้น เป็นของคู่บุญ ทำให้พระองค์ทรงสามารถปกครองโลกให้เกิดสันติสุข ครั้นละโลกแล้วก็ได้ไปเสวยสุขในสุคติโลกสวรรค์

อุโบสถศีล แปลว่า การเข้าอยู่จำโดยถือศีล ๘ ข้อ วันอุโบสถหรือวันพระนั้น เป็นวันที่เราจะต้อง อยู่เยี่ยงพระ คือบำเพ็ญเนกขัมมะนั่นเอง ศีลแปดที่รักษากันในวันพระ เรียกว่า อุโบสถศีล

ผู้ครองเรือนทั่วไปไม่สะดวกถือศีล ๘ ได้ทุกวัน ก็จะหาโอกาสมาถือศีลกันเฉพาะวันพระเช่นนี้จึงเรียกว่า รักษาอุโบสถศีล

ระยะเวลาของการรักษาอุโบสถศีล

การรักษาอุโบสถ มี ๓ อย่าง สามารถเลือกรักษาได้ตามความพร้อมของแต่ละบุคคล คือ

๑. ปกติอุโบสถ คือ อุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ คือ วัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม

๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน โดยการถือเพิ่มการรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน เรียกว่า วันรับ และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง จึงรวมเป็นรักษาคราวละ ๓ วัน คือ วันรับ วันรักษา และวันส่ง รวม ๓ วัน ๓ คืน

๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คือ อุโบสถที่รักษาครั้งละหลายๆ วัน เช่น ตลอดพรรษา ๓ เดือนบ้าง ตลอด ๑ เดือนบ้าง
หรือครึ่งเดือนจำนวน ๑๕ วันบ้าง

ศีลอุโบสถนั้น มีองค์ประกอบทั้งหมด ๘ ข้อ ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่ง ก็ไม่เรียกว่าศีลอุโบสถตาม พุทธบัญญัติ
เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว ก็ถือว่าขาดศีลอุโบสถ พูดง่ายๆ ว่า ขาดศีลข้อเดียวก็ขาดหมดทั้ง ๘ ข้อ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ

อุโบสถศีล มี ๘ ประการ
อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้ คือ

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป

๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้

๓. อพรหมจริยา เวรมณี งดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อการประพฤติผิดพรหมจรรย์

๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ รวมถึงวจีกรรมในรูปแบบต่างๆ

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้น จากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

๖. วิกาลโภชนา เวรมณี งดเว้นจากการบริโภค อาหารในเวลาวิกาล

๗. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปน-ธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี
และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่อง ทาอันจัดว่าเป็นการแต่งตัว

๘. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่
เป้าหมายหลักในการรักษาอุโบสถศีลนั้น ก็ เพื่อทำให้จิตใจสงบ ไม่กวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องกามารมณ์
แต่ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถือ เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ผู้ที่ยังไม่ปรารถนาออกบวช
โดยปกติวันพระ พุทธศาสนิกชน ที่สะดวกก็จะพากันแต่งชุดขาวไปสมาทานอุโบสถศีล และฟังธรรมที่วัด แล้วพักอาศัยอยู่ที่วัด
จนกว่าจะครบกำหนด ถ้าไม่ได้ไปวัด ก็จะตั้งใจสมาทานศีล ด้วยตนเอง จะเปล่งวาจาสมาทานหรือเพียงแต่ตั้งเจตนาไว้ก็ได้ทั้งนั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส อุปมาถึงอานิสงส์ ของการรักษาอุโบสถศีลไว้ว่า ถ้าจะนำมาเปรียบกับสมบัติของพระราชา ที่แม้จะครองความเป็นใหญ่ถึง ๑๖ แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวของผลบุญอันเกิดจากการ รักษาอุโบสถเลย เพราะสมบัติมนุษย์
เป็นสมบัติ หยาบเหมือนสมบัติของคนกำพร้า มีความสุขได้ไม่กี่ร้อยปีก็ต้องพลัดพรากซึ่งเทียบไม่ได้กับการได้เสวย
ทิพยสมบัติอันยาวนานในสวรรค์ที่เกิดจากอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถ

การรักษาอุโบสถศีลนี้ แม้ว่าจะมีโอกาสรักษาได้ไม่นาน แต่กลับสามารถส่งผลให้มีอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาดได้
ดังเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว ในสมัยพุทธกาล เรื่องมีอยู่ว่า

อานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีล

จะเห็นได้ว่า เพียงการรักษาอุโบสถครึ่งวันและทำด้วยความเต็มใจ ยังได้อานิสงส์ขนาดนี้ แล้วถ้าหากใครได้รักษาอย
ู่เนืองนิตย์อานิสงส์นั้นพรรณนา อย่างไรก็ไม่หมด เป็นบุญใหญ่ที่จะนำพาให้ได้สวรรค์สมบัติ เวียนวนอยู่แต่ในสุคติภูมิเท่านั้น เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ จะถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ในที่สุดจะได้นิพพานสมบัติ เข้าถึงความสุขอันเป็นอมตะ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจะได้รับอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาด อย่างน้อยๆ ก็สามารถแบ่งออกเป็น ๕ ข้อ คือ
๑. ย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ

๒. เกียรติศัพท์อันงามของผู้มีศีล ย่อมฟุ้งขจรไปไกล

๓. ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใดๆ ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน

๔. ผู้มีศีลย่อมไม่หลงทำกาละ คือ ไม่หลงเผลอสติในเวลาตาย

๕. ผู้มีศีล ตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพ

นอกจากนี้ ศีล ยังเป็นบาทเบื้องต้นแห่งสมาธิ ทำให้ใกล้ต่อมรรคผลนิพพาน ดังนั้นคนที่ตั้งใจรักษาศีลได้บริสุทธิ์ก็จะมีผลต่อ
การนั่งสมาธิไปด้วย ดังนั้น พุทธศาสนิกชนที่ดีก็ควรที่จะตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ทั้งยังต้องเป็นกัลยาณมิตรชักชวนคนรอบ
ข้างมาสั่งสมบุญใหญ่ ที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธให้แข็งแรงยิ่งขึ้นไป

บุคคลแม้จะงดงามด้วยเครื่องประดับอันมีค่า ก็ยังไม่งามเท่าผู้มีศีลเป็นอาภรณ์ ผู้มีศีลย่อมติเตียนตนเองไม่ได้ เมื่อพิจารณาถึงศีลที่บริสุทธิ์ ย่อมเกิดปีติทุกเมื่อ

ศีลจึงเป็นรากฐานแห่งความดีทุกอย่างและกำจัดความชั่วทั้งปวง

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , ,